ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนบ้านห้วยทราย

 ประวัติย่อของโรงเรียน

โรงเรียนบ้านห้วยทรายตั้งขึ้นเมื่อ วันที่  ๑  พฤษภาคม  พ.ศ.  ๒๔๘๓  โดยนายอำเภอเมืองเลย          มีครูประจำการ  ๒  คน คือ  นายเพชร  อินทจันทร์  ครูใหญ่ และนายกนก  เกตะวันดี  ครูสายผู้สอน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมูลศึกษาถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔  เปิดเรียนครั้งแรกมีจำนวนนักเรียน  ๔๕  คน  โดยตั้งชื่อโรงเรียนว่า  โรงเรียนประชาบาล  ตำบลนาโคกวัดบ้านห้วยทรายได้อาศัยศาลาวัดเป็นที่เล่าเรียน  ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประชาบาลตำบลกกดู่ ๕ วัดบ้านห้วยทราย  และต่อมาได้มีเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาใหม่    โดยตัดชั้นมูลศึกษาออกไปให้คงเหลือไว้แต่ชั้น  ป.๑ – ๔  เปลี่ยนชื่อโรงเรียนว่า  โรงเรียนบ้านห้วยทราย  สังกัดกลุ่มโรงเรียนบ้านโป่ง

   ปี พ.ศ.๒๕๐๒  คณะครูและชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นในบริเวณที่ดินของโรงเรียน จำนวน ๑  หลัง  ๔  ห้องเรียน  ใช้เวลาในการปลูกสร้างถึง พ.ศ.๒๕๑๐  จึงแล้วเสร็จโดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ  และย้ายนักเรียนจากศาลาวัดไปเรียนอาคารหลังใหม่

ปี พ.ศ.๒๕๒๒  ได้รับจัดสรรงบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเรียน  แบบ ป. ๑ ซ  จำนวน  ๑  หลัง  ๓  ห้องเรียน  ที่หมู่บ้านห้วยทรายคำ  และย้ายนักเรียนชั้น ป.๔ – ๗  มาเรียนที่อาคารนี้

    ปี พ.ศ.๒๕๒๓  ได้รับจัดสรรงบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเรียน  แบบ ป.๑ ฉ  จำนวน  ๑  หลัง  ๔  ห้องเรียนเพิ่มอีก  และย้ายนักเรียนชั้น ป.๑ – ๓  มารวมกันไว้ทั้งหมด

    ๑  ตุลาคม  ๒๕๒๓  ทางราชการได้โอนโรงเรียนประชาบาล  ที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด  กระทรวงมหาดไทย  ไปสังกัด  สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  กระทรวงศึกษาธิการ  จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรพระราชบัญญัติการศึกษา  พ.ศ.๒๕๒๑  สังกัดกลุ่มโรงเรียนกกดู่

    ปี พ.ศ. ๒๕๓๔  เปิดชั้นขยายโอกาสทางการศึกษา ชั้นม.๑  และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน  แบบ สปช.๑๐๕/๒๙  ขนาด  ๘  ห้องเรียน  จำนวน  ๑  หลัง

    ปัจจุบัน  โรงเรียนบ้านห้วยทราย  ได้รับการรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน  รุ่นที่ ๓   เมื่อวันที่  ๒๑  มกราคม  พ.ศ.๒๕๕๗  ตั้งอยู่เลขที่  ๑๔๗  บ้านห้วยทรายคำ ตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย  จังหวัดเลย   สังกัดกลุ่มคุณภาพการศึกษากกดู่นาแขม   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย  เขต  ๑  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   มีเนื้อที่  จำนวน  ๒ แปลง  แปลงที่  ๑ ตั้งอยู่บ้านห้วยทราย     หมู่ที่  ๓ จำนวน  ๑๗  ไร่  ๒  งาน  ใช้เป็นพื้นที่ปลูกยางพาราจำนวน  ๑,๐๕๐ ต้น ปลูกเมื่อปี พ.ศ.  ๒๕๕๐ แปลงที่  ๒ เป็นสถานที่โรงเรียนในปัจจุบัน  มีเนื้อที่จำนวน  ๑๗ ไร่  ๓ งาน  เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ ชั้นอนุบาล ๑  –  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  มีห้องเรียนจำนวน   ๑๑ ห้องเรียน  ปีการศึกษา  ๒๕๖๖ มีนักเรียน จำนวน  ๑๘๒  คน  มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๑๗ คน  แบ่งเป็นข้าราชการครู ๑๕ คน  เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑ คน  และนักการภารโรง ๑ คน


รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหาร ครู และบุคลากร มีดังนี้

๑)   ผู้บริหารชื่อ นายถาวร   คำพีระ วุฒิทางการศึกษาสูงสุด   ปริญญาโท   ( ศศ.ม.)      สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา   ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ ตั้งแต่   ๑๐ ตุลาคม  ๒๕๖๕

๒)   ผู้ช่วยผู้บริหาร(ที่ได้รับการแต่งตั้ง)  ๑  คน

๓)   จำนวนครูผู้สอน (ข้าราชการ)  ๑๔  คน  ครูอัตราจ้าง  -  คน
วุฒิทางการศึกษาของครู (ข้าราชการ)  ต่ำกว่าปริญญาตรี - คน 

             ปริญญาตรี  ๘  คน  สูงกว่าปริญญาตรี  ๗  คน 

             อายุเฉลี่ยของครู (ข้าราชการ)  ๔๐  ปี  และประสบการณ์สอนเฉลี่ย  ๙  ปี


ปรัชญาของโรงเรียน  

“มนส.ส  ปฏิสรณํ”“สติเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ” 

สีประจำโรงเรียน

 เขียว  ขาว

              ผู้บริหารมีแนวทางในการบริหารงานโดยยึดหลักการบริหารบุคลากรทุกคนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจและเป้าหมาย ดังนี้คือ

 

๒.๑ วิสัยทัศน์  ( Vision )

       มุ่งมั่นจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณธรรมนำวิชาการสืบสานประเพณีใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาพัฒนาครูเป็นมืออาชีพ  และจัดการศึกษาได้มาตรฐานโดยชุมชนมีส่วนร่วม

 

๒.๒  พันธกิจ  ( Mission )

       ๑.  จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

       ๒.  จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดี  มีวินัย  มีคุณธรรม  จริยธรรม

       ๓.  ปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

       ๔.  พัฒนาบุคลากรสู่มาตรฐานวิชาชีพ  เป็นครูมืออาชีพ

       ๕.  จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด  ร่มรื่นเอื้อต่อการเรียนการสอน

๖. ส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนดีใกล้บ้าน(โรงเรียนดีประจำอำเภอ)

๗.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและองค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนรวมในการจัดการศึกษาและระดม

ทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษา

๑.     อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย  ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

 

๒.๓  เป้าหมาย (Goal)

       ๑.  จัดการศึกษาให้นักเรียนในเขตบริการตามภาคบังคับ  ๙  ปี  ครบทุกคน

       ๒.  นักเรียนทุกคนมีความรู้ความสามารถ  มีคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์  ตามเกณฑ์มาตรฐาน

       ๓.  นักเรียนทุกคนจบหลักสูตร  สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

       ๔.  มีสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างเพียงพอ

๕.  บุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาความรู้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

๖.  โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด  ร่มรื่นน่าอยู่  น่าเรียน

๗.  ชุมชนให้การสนับสนุนในการจัดการศึกษา  โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการชุมชน  นำภูมิ 

ปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา

 

 

๒.๔  นโยบาย

๑.  เร่งรัดการบริหารงานตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด

๒. เร่งรัดคุณภาพการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนด

๓. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญให้นักเรียนมีความรู้   คู่คุณธรรมมีสุขภาพที่ดีและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์

๔. จัดหาอุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน

๕. ส่งเสริมบุคลากรให้มีการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ  มีศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ

๖. เร่งปรับปรุงอาคารสถานที่ให้สะอาดร่มรื่นสวยงามเป็นแหล่งการเรียนรู้  และเอื้อต่อการเรียนการสอน

 

๒.๕  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

๑. รักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์

๒.     ซื่อสัตย์สุจริต

๓.     มีวินัย

๔.     ใฝ่เรียนรู้

๕.     อยู่อย่างพอเพียง

๖.     มุ่งมั่นในการทำงาน

๗.     รักความเป็นไทย

๘.     มีจิตสาธารณะ

๒.๖  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

๑.  ความสามารถในการสื่อสาร

๒. ความสามารถในการคิด

๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา

๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

๒.๗ กลยุทธ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๑

๑.  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ

๒. ปลูกฝังคุณธรรมความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๓. ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๔. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๕. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการจัดการศึกษา

๖. พัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ยากลำบาก

 

๒.๘  กลยุทธ์โรงเรียนบ้านห้วยทราย

       ๑. ปลูกฝังความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียนทุกคน

   ๒.  ยกระดับคุณภาพสถานศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาของชาติ  พัฒนาผู้เรียน  สมรรถนะครูและบุคลากรอย่างเป็นระบบ  เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและปฐมวัย  และการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาอย่างเต็มตามศักยภาพ

   ๓.  เร่งรัดพัฒนาความพร้อมในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการ

      ๔. สร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารและจัดการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจอย่างมีประสิทธิภาพบนหลักธรรมาธิบาลในสถานศึกษา

  

โครงการตามกลยุทธ์  โรงเรียนบ้านห้วยทราย

       กลยุทธ์ที่  ๑  ปลูกฝังความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียนทุกคน

·      โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

·      โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

·      โครงการผลิตสื่อนวัตกรรม

·      โครงการส่งเสริมประชาธิปไตย  วินัยนักเรียน

·      โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

·      โครงการค่ายคุณธรรม

 กลยุทธ์ที่  ๒ ยกระดับคุณภาพสถานศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาของชาติ  พัฒนาผู้เรียน  สมรรถนะครูและ

บุคลากรอย่างเป็นระบบ  เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและปฐมวัย               และการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษา               อย่างเต็มตามศักยภาพ

·      โครงการส่งเสริมอ่าน คิด วิเคราะห์ (WAR)

·      ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

·      โครงการผลิตสื่อนวัตกรรม

·      โครงการนิเทศภายใน

·      โครงการพัฒนาบุคลากร

·      โครงการเด็กพิการเรียนร่วม

·      โครงการส่งเสริมพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย

·      โครงการห้องเรียนสวยโรงเรียนงาม

·      โครงการทัศนศึกษา  

 กลยุทธ์ที่  ๓  เร่งรัดพัฒนาความพร้อมในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการ

·      โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

·      โครงการปรับปรุงอาคารสถานที่

·      โครงการบริการสารสนเทศและสื่อICT

กลยุทธ์ที่  ๔  สร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารและจัดการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจอย่างมีประสิทธิภาพบนหลักธรรมาธิบาลในสถานศึกษา

·      โครงการส่งเสริมประชาธิปไตย  วินัยนักเรียน

·      โครงการปลูกยางพารา

·  โครงการห้องเรียนสวยโรงเรียนงาม

 

๒.๗  อุดมการณ์ในการจัดการศึกษา 

       โรงเรียนบ้านห้วยทราย   จัดการศึกษาเพื่อสนองนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย  เขต  ๑  และตามความต้องการของชุมชนท้องถิ่น   มุ่งหวังให้นักเรียนมีคุณธรรมนำความรู้  อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

๒.๗  แนวทางในการพัฒนาในอนาคต

๑. พัฒนาผู้เรียนในด้านความมีคุณธรรม  จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย และเน้นผู้มีคุณลักษณะอันพึง

      ประสงค์ตามที่โรงเรียนได้ตั้งไว้

๒. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม พัฒนาผู้เรียนให้มี  

    สุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี พัฒนากิจกรรมส่งเสริมหลักสูตรเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาสร้างสรรค์

    ความรู้ด้วยตนเอง และมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน

     ๓. จัดหาสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย เช่น  โทรทัศน์,คอมพิวเตอร์ ให้มีเพียงพอ จัดห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น

         ห้องวิทยาศาสตร์,ห้องคณิตศาสตร์,ห้องคอมพิวเตอร์,ห้องปฏิบัติการทางภาษา ให้พร้อมสำหรับการจัด

         กิจกรรมการเรียนการสอน

   ๔.พัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน  การใช้สื่อ และนำสื่อมาใช้ในการ

      พัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาตนเอง

๕.พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน เช่น   ห้องสมุด,สวนยางพารา  สวนป่า  ให้เป็นศูนย์กลางการ
    เรียนรู้ของชุมชนพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนดีใกล้บ้าน

   จากการสรุปผลการดำเนินงานทำให้คณะครู  ได้ทราบสภาพปัจจุบันและปัญหาของทางโรงเรียนว่าโรงเรียนมีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร  ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขคืออะไร  เพื่อเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวคณะครูจึงได้ประชุม  ปรึกษาหารือกำหนดโครงการและกิจกรรมเพื่อดำเนินงานให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

 

 ๒.๘  ความต้องการความช่วยเหลือ

       ๑.  อาคารเรียน/ห้องเรียนไม่เพียงพอ   เป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดกิจกรรมการเรียน  การสอน   ขาดสถานที่จัดกิจกรรมนักเรียน

       ๒.  บุคลากร, คอมพิวเตอร์,  การเงิน, งานห้องสมุด, ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ,พลศึกษา
        ๓.  เครื่องขยายเสียง และอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์

       ๔.  สื่อประเภทอิเลคทรอนิกส์  ประเภท  โปรเจคเตอร์  คอมพิวเตอร์   

       ๕. ทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่ขาดแคลน

       ๖. สนามเด็กเล่น  ควรได้รับการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

      ๗. ปรับปรุงหรือก่อสร้างประปาโรงเรียนเพราะ ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภคในฤดูแล้ง